6. ลักษณะเศรษฐกิจ 6.1 การเกษตร พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกยางพารา ผลไม้ และปาล์ม โดยผลผลิตที่เป็นรายได้หลักของสาขาการเกษตรกรรม คือน้ำยางดิบ และการแปรรูปยางแผ่น 6.2 การท่องเที่ยวและบริการ
พื้นที่ปาดังเบซาร์เป็นเมืองติดกับประเทศมาเลเซีย เป็นที่ตั้งของด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ ซึ่งใช้เป็นที่สัญจรไปมาระหว่าง ไทย–มาเลเซีย การท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงเป็นการท่องเที่ยวเชิงการค้าชายแดนและการขนส่งสินค้า โลจิสติกส์ สถานท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่
2) วัดถ้ำเขารูปช้าง (เป็นสถานที่ใกล้เคียงซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์) ตั้งอยู่ หมู่ 6 ตำบลปาดังเบซาร์ ห่างจากตลาดปาดังเบซาร์ประมาณ 13 กิโลเมตร เป็นวัดที่ใช้ถ้ำเป็นศาสนสถาน ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยอันวิจิตรงดงาม รอบๆ บริเวณวัดมีบรรยากาศสงบร่มรื่น มีที่พักสำหรับผู้มา ปฏิบัติธรรม กิจกรรมเศรษฐกิจด้านประเทศมาเลเซีย มีการเปิดร้านจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี (Duty Free Shop) ติดกับแนวชายแดนไทย สินค้าที่จำหน่าย ได้แก่ สินค้าอุปโภค บริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า เหล้า เบียร์ บุหรี่ เป็นต้น และห่างจาก Duty Free Shop ไปประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งชุมชนและมีร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภค/บริโภค อุปกรณ์กีฬา นาฬิกา และสินค้าเบ็ดเตล็ด ซึ่งมาเลเซียผ่อนผันให้เข้าไปซื้อสินค้าได้ 6.3 อุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมการแปรรูปยางแผ่น โรงงานผลิตยากันยุง นอกจากนั้นจะเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน 6.4 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ สถานประกอบการ ตาราง สถานประกอบการในด้านบริการต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์
ที่มา : กองคลัง เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์
ตาราง แสดงข้อมูลสถานประกอบการประเภทโรงแรมและรีสอร์ท (ข้อมูล ปี 2561)
จากตาราง จำนวนสถานประกอบการประเภทโรงแรมและรีสอร์ทในเขตเทศบาล เมืองปาดังเบซาร์ จำนวน 11 แห่ง จำนวนห้องรวม 267 ห้อง เปิดให้บริการ 176 ห้อง คิดเป็นร้อยละ 67.2 ของจำนวนห้องรวม ตาราง ข้อมูลร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์
จากจำนวนร้านอาหาร 33 ร้าน เป็นร้านอาหารขนาดใหญ่ จำนวน 5 ร้าน ประกอบด้วย ร้านหอฟ้า ร้านฟักทอง ร้านเดอะเมเยอร์ ร้านบะกุดแต๋ และร้านคุณน้อย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|